คำชี้แจง

เทอมนี้เป็นเทอม2ซึ่งภาคเรียนนี้นักเรียนจะเรียนเกี่ยวกับ



หน่วยที่1ร่างกายของเรา
บทที่ 1 ระบบการย่อยอาหาร ::

:: จุดประสงค์การเรียนรู้ ::
1.             ผู้เรียนอธิบายความหมายของคำว่า การย่อยอาหาร การย่อยเชิงกล การย่อยเชิง เคมีและเอนไซม์ได้
2.             ผู้เรียนอธิบายความแตกต่างระหว่างการย่อยเชิงกลและการย่อยเชิงเคมีได้
3.             อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์และคุณสมบัติของเอนไซม์ได้
4.             ผู้เรียนชี้บ่งตำแหน่งอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะในการย่อยอาหารได้
5.             ผู้เรียนอธิบายกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารได้


อาหารประเภทต่างๆที่เราบริโภคโดยเฉพาะสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือคาร์โบไฮเดรตโปรตีน
และไขมันล้วนแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลำเลียงเข้าสู่เซลล์ส่วนต่างๆของร่างกายได้ ยกเว้นวิตามิน
และเกลือแร่ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็กจึงจำเป็นต้องมีอวัยวะและกลไกการทำงานต่างๆที่จะทำให้
โมเลกุลของสารอาหาร เหล่านั้นมีขนาดเล็กลงจนสามารถลำเลียงเข้าสู่เซลล์ได้ เรียกว่า การย่อย

:: การย่อยอาหาร (Digestion) ::
==> คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/totop.jpg
หมายถึง การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่ง
แพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
1. การย่อยเชิงกล คือการบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลทำให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง
2. การย่อยเชิงเคมี คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของ
สารอาหารเกิดการเปลียนแปลงทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง

คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges11.jpg
:: อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน ::
==> คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/totop.jpg

::1. อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร::
1.1 ตับ มีหน้ามี่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี
1.2 ตับอ่อน มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
1.3 ลำไส้เล็ก สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็คเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
:: เอนไซม์(Enzyme) ::
เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีในร่างกาย เอนไซม์
ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า น้ำย่อย เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
  • เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
  • ช่วยเร่งปฎิกิริยาในการย่อยอาหารให้เร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฎิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้เร่งปฎิกิริยา
    โมเลกุลอื่นได้อีก
  • มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฎิกิริยาชนิดหนึ่งๆ
  • เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges8.jpg
:: ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ได้แก ่::
1.             อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
2.             ความเป็นกรด - เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินในกระเพาะอาหาร
เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
3.             ความเข้ม เอนไซม์ที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์ จำแนกได้ดังนี้
1.             เอนไซม์ในน้ำลาย ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อยเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของ
น้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
2.             เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรดและที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
3.             เอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสและอุรภูมิปกติร่างกาย
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กลูโคส
โปรตีน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กรดอะมิโน
ไขมัน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กรดไขมันและกลีเซอรอล
ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะ ดังต่อไปนี้ ==>คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/totop.jpg
:: 2. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ::
ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหารโดยเริ่มจาก
ปาก คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifคอหอย คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifหลอดอาหาร คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifกระเพาะ คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifทวารหนัก ดังรูป
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges9.jpg
เมื่อรับประทานอาหารอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารเพื่อเกิดการย่อยตามลำดับดังต่อไปนี้

2.1 ปาก ( mouth) มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส
หรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย
แป้ง คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gifน้ำตาลมอลโตส (maltose)
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges6.jpg



ต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่ ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ 1 – 1.5 ลิตร

2.2 คอหอย (pharynx) เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น

2.3 หลอดอาหาร(esophagus) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบมีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
ทางเดินอาห าร เป็นช่วงๆ เรียกว่า เพอริสตัสซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/pipe_diges2.jpg


2.4 กระเพาะอาหาร(stomach) มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อย
ทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด

โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบ
เอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า
เรนนิน '' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า
เพปซิน
โปรตีน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
เพปไทด์
สรุป การย่อยที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges4.jpg
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges5.jpg
2.5 ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงาน
ได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่
1.             มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส
2.             ซูเครส (sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ
ฟรักโทส (fructose)
3.             แล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)
การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) มาช่วยย่อย เช่น
  • ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
  • อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
  • ไลเปส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/pip.jpg
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/diges2.gif
:: น้ำดี (bile) ::
เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบ
ประเภทโปรตีน น้ำดีจะทำหน้าที่ย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลงแล้วน้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาค
ที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/bile.jpg
สรุป การย่อยสารอาหารประเภทต่างๆในลำไส้เล็ก
คาร์โบไฮเดรต

แป้ง
อะไมเลส
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
มอลโทส
มอลโทส
มอลเทส
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กลูโคส + กลูโคส
ซูโครส
ซูเครส
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กลูโคส + ฟรักโทส
แล็กโทส
ทริปซิน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กลูโคส + กาแล็กโทส

โปรตีน

เพปไทด์
ทริปซิน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กรดอะมิโน

ไขมัน

ไขมัน น้ำดี
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
ย่อยโมเลกุลของไขมันขนาดเล็ก
ไลเพส
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/pic/XX026477.gif
กรดไขมัน + กลีเซอรอล
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/burn.jpg
อาหารเมื่อถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยโครงสร้างที่เรียกว่า วิลลัส ( villus)”
ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจากผนังลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เพิ่มเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร
2.6 ลำไส้ใหญ่ (large intestine ) ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหารและดูดซึมน้ำออกจาก
กากอาหาร ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆจะทำให้เกิด
โรคริดสีดวงทวาร

บทที่ 2 หัวใจและระบบหมุนเวียนเลือด ::
:: จุดประสงค์การเรียนรู้ ::
  1. ผู้เรียนอธิบายความหมายของคำว่า พลาสมาและฮีโมโกลบินได้
  2. ผู้เรียนอธิบายส่วนประกอบตลอดจนหน้าที่ของเลือดและเซลล์เม็ดเลือดได้
  3. ผู้เรียนอธิบายระบบทางเดินของเลือดผ่านเข้าออกหัวใจได้
  4. ผู้เรียนสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเลือดและอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้
  5. ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของความดันเลือดในร่างกายได้
  6. ผู้เรียนอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือดได้
  7. ผู้เรียนสรุปปัจจัยและการทำกิจกรรมที่มีผลต่อการเต้นของชีพจรได้
  8. ผู้เรียนอธิบายและบ่งชี้ส่วนประกอบของระบบน้ำเหลืองได้
  9. ผู้เรียนอธิบายกลไกกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายสร้างขึ้นได้
  10. ผู้เรียนบอกลักษณะแตกต่างของคุ้มภูมิกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและภูมิคุ้มกันที่รับมาได้
  11. ผู้เรียนสรุปเกี่ยวกับระบบน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันได้


:: เลือด (Blood)
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า น้ำเลือดหรือ
พลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart18.jpg
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามินและ
สารอาหารประเภทต่างๆที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/plasma.gif
2. เซลล์เม็ดเลือด ประกอบด้วย
2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell)
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/redblood.jpg

มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน ( คล้ายขนมโดนัท ) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่
เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
หน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอด
แหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุ
ประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell)
มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสีและมีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
หน้าที่ ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย
แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/whiteblood.gif
3. เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (blood pletelet)
ไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ซึ่งมีรุปร่างกลมรีและแบนเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ4วัน
หน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
::หัวใจ (Heart)::
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart6.gif
หัวใจ (Heart) ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง
เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart7.gif
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart3.gif
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/totalvalve.gif


::วงจรการไหลเวียนเลือด::
วงจรการไหลเวียนเลือด เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจ
ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
หรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อ
แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไป

การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจ
การไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart12.gif
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heartbeat.gif
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart15.jpgคำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/heart3a.gif
::หลอดเลือด ::
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆ
ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/typeblood.jpg
หลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด
1. หลอดเลือดแดง (artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายหลอดเลือดแดงมี
ผนังหนาแข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง
หรือเรียกว่า เลือดแดง ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า เลือดดำ
2. หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่า
หลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย (capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแห
แทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยน
แก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
::ความดันเลือด ( blood pressure)::
ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดง
ที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็น
มิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ
  • ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
    เรียกว่า
    ความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure)
  • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    เรียกว่า
    ความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)
เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)'' โดยจะวัด
ความดันที่หลอดเลือดแดง
ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจ
รับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
หลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่
ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อ
การบีบตัวของหัวใจโดยตรง
ชีพจร หมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้น
เฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชาย
จะสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
1.             อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
2.             เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือด
ค่อนข้างสูง
3.             ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
4.             อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
5.             คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง
:: ระบบน้ำเหลือง ::

สารต่างๆในเซลล์จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หลอดเลือดด้วยระบบน้ำเหลืองโดยสัมพันธ์กับการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอย

ระบบน้ำเหลืองมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. อวัยวะน้ำเหลือง เป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม และต่อมไทมัส
มีหน้าที่ผลิตสารต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่หลอดเลือดดำในระบบหมุนเวียนของเลือด
3. น้ำเหลือง (lymph) มีลักษณะเป็นของเหลวใสอาบอยู่รอบๆ เซลล์ สามารถซึมผ่านเข้าออกผนังหลอดเลือดฝอยได้
มีหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ได้
คำอธิบาย: http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/yellow.jpg
:: ระบบภูมิคุ้มกัน ::
ร่างกายของคนเราที่มีสภาพภูมิคู้มกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดโรคได้ร่างกายซึ่งมีกลไกกำจัดสิ่งแปลกปลอม
ตามธรรมชาติ ดังนี้
1.             เหงื่อเป็นสารที่ร่างกายขับจากต่อมเหงื่อออกมาที่บริเวณผิวหนังทั่วร่างกายสามารถป้องกันการเจริญเติบโต
ของแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง
2.             น้ำตาและน้ำลาย ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้
3.             ขนจมูกและน้ำเมือกในจมูก ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
4.             เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเซลล์ร่างกายและท่อน้ำเหลือง สร้างสารต่อต้านเชื้อโรคที่เรียกว่า แอนติบอดี
(Antibody)” เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเฉพาะโรค ที่เข้าสู่ร่างกายนั้นสร้างได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เป็นวิธีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค
เช่น การฉีดวัคซีนคุ้มกันโรคอหิวาตกโรค เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี เพื่อทำลายเชื้ออหิวาตกโรค
ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
2. ภูมิคุ้มกันที่รับมา เป็นวิธีการให้แอนติบอดีแก่ร่างกายโดยตรง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันทันที เ ช่น การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู
ใช้ฉีดเมื่อถูกงูกัด จะเกิดภูมิคุ้มกันทันที


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น